วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การหาค่าการวิบัติของชั้นดินและชั้นหิน


































ดินถล่มคืออะไร


ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก
และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก
ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว

ดินไหลและดินถล่ม มีข้อแตกต่างตรงที่ดินไหลเกิดขึ้นเป็นบริเวณแคบ ปรากฏเป็น 1 ถึง 2 แห่ง ส่วนดินถล่มเกิดเป็นบริเวณกว้าง

และรุนแรง ทั้งดินไหลและดินถล่มมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
ิหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์
ดินไหลบริเวณข้างทางในเส้นทางแม่สะเรียง-แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
รูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน

กระบวนการเกิดดินถล่ม
เมื่อฝนตกหนักน้ำจะซึมลงไปในดิน จนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลงทำให้แรงต้านทาน
การเลื่อนไหลของดินลดลง
เมื่อน้ำใต้ดินมีระดับสูงขึ้น น้ำก็ี่จะไหลภายในช่องว่างของมวลดินลงตามความชันของลาดเขา
เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา

ชนิดของดินถล่ม


















ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
พื้นที่เป็นหินแข็งเนื้อแน่นแต่ผุง่าย
มีชั้นดินสะสมตัวหนาบนภูเขา
ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ที่ลาดเชิงเขา หุบเขาและหน้าผา
ภาพแสดงปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
ป่าไม้ถูกทำลาย
มีฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
ภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น พายุ, แผ่นดินไหว และไฟป่า

ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
กรมทรัพยากรธรณีได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เบื้องต้นและรวบรวมข้อมูล

จากแหล่งข้อมูลอื่นพบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งมีลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่มมาก
เนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิด
การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ
ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
มีร่องรอยดินไหลหรือดินเลื่อนบนภูเขา
มีรอยแยกของพื้นดินบนภูเขา
อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยมีโคลนถล่มมาบ้าง
ถูกน้ำป่าไหลหลากและท่วมบ่อย
มีกองหิน เนินทรายปนโคลนและต้นไม้ ในห้วยใกล้หมู่บ้าน
พื้นห้วยจะมีก้อนหินขนาดเล็กใหญ่อยู่ปนกันตลอดท้องน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น