วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การหาค่าการวิบัติของชั้นดินและชั้นหิน


































ดินถล่มคืออะไร


ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก
และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก
ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว

ดินไหลและดินถล่ม มีข้อแตกต่างตรงที่ดินไหลเกิดขึ้นเป็นบริเวณแคบ ปรากฏเป็น 1 ถึง 2 แห่ง ส่วนดินถล่มเกิดเป็นบริเวณกว้าง

และรุนแรง ทั้งดินไหลและดินถล่มมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
ิหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์
ดินไหลบริเวณข้างทางในเส้นทางแม่สะเรียง-แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
รูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน

กระบวนการเกิดดินถล่ม
เมื่อฝนตกหนักน้ำจะซึมลงไปในดิน จนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลงทำให้แรงต้านทาน
การเลื่อนไหลของดินลดลง
เมื่อน้ำใต้ดินมีระดับสูงขึ้น น้ำก็ี่จะไหลภายในช่องว่างของมวลดินลงตามความชันของลาดเขา
เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา

ชนิดของดินถล่ม


















ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
พื้นที่เป็นหินแข็งเนื้อแน่นแต่ผุง่าย
มีชั้นดินสะสมตัวหนาบนภูเขา
ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ที่ลาดเชิงเขา หุบเขาและหน้าผา
ภาพแสดงปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม
ป่าไม้ถูกทำลาย
มีฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
ภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น พายุ, แผ่นดินไหว และไฟป่า

ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
กรมทรัพยากรธรณีได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เบื้องต้นและรวบรวมข้อมูล

จากแหล่งข้อมูลอื่นพบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งมีลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่มมาก
เนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิด
การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ
ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
มีร่องรอยดินไหลหรือดินเลื่อนบนภูเขา
มีรอยแยกของพื้นดินบนภูเขา
อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยมีโคลนถล่มมาบ้าง
ถูกน้ำป่าไหลหลากและท่วมบ่อย
มีกองหิน เนินทรายปนโคลนและต้นไม้ ในห้วยใกล้หมู่บ้าน
พื้นห้วยจะมีก้อนหินขนาดเล็กใหญ่อยู่ปนกันตลอดท้องน้ำ

หินที่สนใจ



หินตะกอน คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเลหรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ

การเรียกชื่อหินชั้น

เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพชองหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า หินชั้น

Taylor's Chart

lope stability concepts

If there are loading outside the toe that prevent the circle from passing below the toe, the long dashed curved should be used to determine the developed cohesion. Note that the solid and the long dashed curves converge as n approaches zero. The circle represented by the curves on the left of n = 0 does not pass below the toe, so the loading outside the toe has no influence on the developed cohesion.

Taylor's Chart

Stability assessments of earth slopes require limit state calculations,
which differ significantly from those in structural engineering.
This is because the weight of the soil constitutes the main
load on slopes, yet it contributes to forces both resisting and driving
the collapse. These forces depend on the mode of failure and
the particular geometry of the failure mechanism. Consequently,
the safety factor cannot be defined as a ratio of the limit load to
the working load ~both being ill-defined for slopes!, but is usually
defined as a function of the strength of the soil. Typically, the
strength of the soil is described by the Mohr–Coulomb yield condition
as a function of the cohesion, c, and the internal friction
angle, w. A common definition of the factor of safety ~F! is the
ratio of the shear strength of the soil to the shear stress necessary
to maintain limit equilibrium


Taylor's
stability chart is the main tool used for engineering analysis of simple homogeneous slope stability problems. It is likely that this situation will continue in the future. One of the main deficiencies of Taylor's original presentation is that it does not provide a convenient, general tool for establishing the critical slip circle associated with a given stability problem. Critical circles define the extent of the potentially unstable zone, and this information is quite useful in many practical situations. The present work completes Taylor's classical investigation of stability of homogeneous slopes, and presents the tools necessary in order to establish not only stability numbers (safety factors), but also critical slip circles associated with those numbers. The information defining critical slip circles is presented in a simple chart form which is convenient for practical applications.

ข้อมูลหลุมเจาะ

โครงการก่อสร้างสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ตำบล- อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี (จำนวนหลุม 10 )


(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • แผนที่ตั้งโครงการ 1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-1.1



(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-2.1
(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-3.1
(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)



  • Boring Log BH-4.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Bor ing Log BH-5.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-6.1
(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-7.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-8.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-9.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)




  • Boring Log BH-10.1

(คลิ๊กที่รูปเืพื่อดูรูปขยาย)

ประวัติความเป็นมาขอ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี






เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

  • สุราษฎร์ธานี

ป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอนก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งและเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่ อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา เป็นต้น

ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี

สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพฯ 685 กิโลเมตร มีพื้นที่ 12,891 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าดิบชื้นที่อุดมด้วยความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ป่า และยังมีหมู่เกาะที่มีชื่อเสียง น้ำทะเลใส หาดทรายขาว อาทิ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และเกาะนางยวน ซึ่งแต่ละเกาะมีความหลากหลายของธรรมชาติแตกต่างกันไป

  • อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่ออ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง


  • สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
  • เกาะสมุ
เกาะที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก อยู่บริเวณอ่าวไทย ห่างจากสุราษฎร์ธานีไปทางทิศตะวันออก 84 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 247 ตารางกิโลเมตร ถนนรอบเกาะ (ถนนสายทวีราษฎร์ภักดี) ยาว 52 กิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะเป็นที่ราบ ล้อมรอบภูเขา ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงคลื่นลมสงบเหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด เกาะสมุย เป็นเกาะที่มีหาดทรายสวยทรายขาวมีชื่อหลายแห่ง อาทิ หาดเฉวง หาดนาเทียน หาดตลิ่งงาม หาดละไม นักท่องเที่ยวที่ต้องการหาดทราย ทะเล สายลม และแสงแดด ชายหาดที่ทอดยาวขนานไปกับทะเล ต้นมะพร้าวริมชายหาดและน้ำทะเลใสสวย ล้วนเป็นเสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่เคยไปสมุยมาแล้วต้องหวนกลับไปอีก ครั้งแล้วครั้งเล่า


  • เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน)
อยู่ในบริเวณเดี ย วกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพัง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี 90 กิโลเมตร เป็ นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวอเนกประสงค์ สูง 95 เมตร ยาว 700 เมตร บริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำร่มรื่นด้วย ต้นไม้ใหญ่ และสวนสวยงาม ภูเขาหินปูนที่อยู่ในเขื่อนมีรูปร่างต่าง ๆ แปลกตาสวยงามตามธรรมชาติ ท่ามกลางผืนน้ำสีเขียวที่ดูอบอุ่นเย็นสบายเหมาะจะมาเที่ยวพักผ่อน ในบริเวณเขื่อนรัชชประภาจะมีที่พักของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาสกไว้ บริการนักท่องเที่ยว


  • เกาะพะงัน

อยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และอยู่ห่างตัวจังหวัด 100 กิโลเมตร เกาะพะงันมีเนื้อที่ 170 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ภูมิประเทศของเกาะพะงันมีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัวจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยเรือเข้าจอดได้เป็นบางฤดู ช่วงมรสุมตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม จะมีลมตะวันออกพัดผ่านซึ่งไม่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว เกาะพะงันมีชายหาดขาว น้ำทะเลใสน่าเล่นน้ำหลายหาด ร่มรื่นด้วยทิวไม้ริมชายหาด ความเงียบสงบของชายหาดต่าง ๆ บนเกาะเป็นเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวจะได้พบ


  • เกาะเต่า

เป็น เกาะที่ตั้งโดดเดี่ยวในอ่าวไทย อยู่ห่างจากอำเภอเกาะพะงัน 45 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในอดีตกรมราชทัณฑ์ได้ใช้เป็นเรือนจำกักขังนักโทษการเมือง (กบฎบวรเดช) สมัยการปกครองของคณะราษฎร์ เกาะเต่ามีประชาชนมาอาศัยตั้งแต่ปี 2490 เป็นเกาะที่มีธรรมชาติและความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล สวยงามด้วยแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ปลาหลากชนิดสีสวย ๆ มากมายที่นักดำน้ำจะต้องนึกถึง และชายหาดที่มีหาดทรายขาวสวยสงบน่าพักผ่อนหลายหาด มีโรงเรียนสอนดำน้ำมากมายที่สามารถผลิตนักดำน้ำได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ



  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา

ตั้ง อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารหลังแรกด้านหน้าจัดแสดงประติมากรรมศิลาและสำริดที่ค้นพบในเมืองไชยา เก่า ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ส่วนอาคารที่สอง เป็นที่จัดแสดงหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา นอกจากนี้ยังจัดแสดงงานประณีตศิลป์ต่าง ๆ อีกมากมาย

เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชม เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลือกทำเลที่ตั้งโรงโม่หิน

การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม (Selection of Plant Location)

การเลือกทำเลที่ตั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือ ผู้ประกอบการ เพราะการค้นหาว่าจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ใดที่หนึ่ง จะมีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่ และตันทุนแปรผัน ซึ่งผลกำไรจากบริษัทจะได้รับผลกระทบทันทีหากตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมไม่เหมาะสม แต่เมื่อมีความจำเป็นจะต้องเลือกสถานที่ตั้งโรงงานใหม่ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการก็จะต้องตัดสินใจวางแผนเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดำเนินการ

ทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

ทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม (Plant Location) หมายถึง สถานที่ที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์การ เช่น โรงงาน โกดังสินค้า สำนักงานใหญ่ หรือสาขา เป็นต้น ที่ตั้งโรงงานจะมีความสำคัญต่อการผลิตและการดำเนินการ การเลือกที่ตั้งจึงเป็นกระบวนการในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดสถานที่ที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพิจารณา ต้นทุน รายได้ ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคลากร ลูกค้า ตลาด และวัตถุดิบ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญของธุรกิจ เนื่องจากการลงทุนในแต่ละครั้งจะมีปริมาณสูงและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการกำหนดที่ตั้งโรงงาน จะมีค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นซึ่ง ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2542 : 97) เสนอไว้ดังนี้

1. การลงทุน (Investment) ปกติการลงทุนในสถานที่ อาคาร เครื่องจักร และ อุปกรณ์ จะต้องใช้เงินลงทุนสูงและเคลื่อนย้ายยาก ซึ่งผู้บริหารต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเช่าหรือซื้อขาดว่าทางเลือกใดมีความเหมาะสมกว่ากัน
2. ต้นทุนการบริหาร (Management Cost) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งมีผลกระทบต่อการจัดการทางการเงินและต้นทุนการดำเนินงาน เนื่องจากที่ตั้งแต่ละแห่งมีต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ค่าขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ การติดต่อสื่อสาร และค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
3. การขยายกิจการ (Growth) การขยายตัวในอนาคตขององค์การทั้งด้านการดำเนินงานหรือตลาด ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาข้อเปรียบเทียบของแต่ละทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความคับแคบในการดำเนินงานหรือให้บริการในอนาคต แต่ถ้าธุรกิจจัดเตรียมพื้นที่มากเกินไปจะเป็นการลงทุนที่ไม่มีผลตอบแทน ตลอดจนก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงในการดำเนินงาน
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) เป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ ที่ตั้งที่เหมาะสมช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจต่ำ ทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนที่ตั้งที่เหมาะสมช่วยดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานมีอยู่มากมาย อย่างไรก็ตามมักปรากฏอยู่เสมอว่า มีเพียงปัจจัยไม่กี่อย่างที่มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของโรงงานผลิตสินค้า ปัจจัยที่มีผลอย่างสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านพลังงาน เส้นทางการขนส่ง และแหล่งวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้าต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงานคือไฟฟ้า โรงงานปูนซีเมนต์ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น นอกจากนี้เส้นทางการขนส่งทั้งทางน้ำ บก และอากาศ ก็จะมีผลอย่างสำคัญต่อต้นทุนการผลิตและจำหน่าย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งของโรงงาน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต และปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ประกอบด้วย
วัตถุดิบ ตลาดสินค้า แรงงาน ที่ดิน การขนส่ง แหล่งพลังงาน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ

วัตถุดิบ (Material) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมีเหตุผลหลัก คือเพื่อลดต้นทุนการผลิตอันเกิดจากการขนส่งวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่เลือกที่ตั้งโรงงานใกล้แหล่งวัตถุดิบ มักได้แก่อุตสาหกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมที่ต้องแร่ธาตุเป็นวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงสังกะสี โรงงานสับปะรดกระป๋อง และโรงงานปลากระป๋อง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะวัตถุดิบมีขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนส่งต้องเสียค่าใช้จายสูง และวัตถุดิบบางประเภทเกิดการเน่าเสียได้ง่าย จึงต้องรีบส่งเข้าโรงงานอย่างรวดเร็ว
ตลาด (Market) โรงงานหรือการดำเนินการในลักษณะที่ใช้วัตถุดิบน้อย มักนิยมตั้งใกล้ตลาดสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการด้านการบริการ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทต้องตั้งใกล้ตลาดสินค้า ทั้งนี้เพราะสินค้าที่ผลิตเกิดการเน่าเสียได้ง่าย ตัวอย่างเช่น โรงงานทำขนมปัง โรงงานไฮศครีมและนมสด เป็นต้น
ในการพิจารณาเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมว่าควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรืออยู่ใกล้ตลาด ซึ่ง สมศักดิ์ ตรีสัตย์ (2537 : 41 – 46) ได้เสนอเอาไว้ ดังนี้

1. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตในโรงงานแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก หรือน้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลงเลย ลักษณะเช่นนี้โรงงานควรจะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตลาด เช่น โรงงานโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
2. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิต และสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปออก กรณีโรงงานควรจะอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบ เช่น โรงงานน้ำตาล ควรตั้งอยู่ใกล้ไร่อ้อย โรงงานทำสับปะรดกระป๋องควรตั้งอยู่ใกล้ไร่สับปะรด
3. เมื่อวัตถุดิบมีอยู่ทั่วไป กรณีเช่นนี้ โรงงานควรจะอยู่ใกล้ตลาด ทั้งนี้ เพราะว่าผลผลิตที่ออกจากโรงงานจะได้ส่งเข้าจำหน่ายในตลาดทันที เมื่อโรงงานอยู่ใกล้ตลาดบางครั้งลูกค้าจะเข้ามาซื้อสินค้าได้โดยตรงในโรงงาน ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงไปอีก
4. เมื่อวัตถุดิบเป็นของที่เน่าเสียหายง่าย เช่น กุ้ง ปลา ผลไม้ และผักต่าง ๆ อันเป็นวัตถุดิบของโรงงานทำอาหารกระป๋อง หรือผลไม้กระป๋อง โรงงานเช่นนี้ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ และวัตถุดิบก็ควรจะมากพอด้วย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบ เสี่ยงต่อความเสียน้อย หากตั้งโรงงานไกลก็จะต้องมีการขนส่งอย่างรวดเร็วและต้องลงทุนในการเก็บรักษาวัตถุดิบเพิ่ม ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ราคาสินค้าสำเร็จรูปสูงตามไปด้วย

แรงงาน แรงงานเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อุตสาหกรรมประเภทต้องใช้แรงงานมาก เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมประกอบเครื่องไฟฟ้าและแผงวงจรไฟฟ้า (integrated circuit) และอุตสาหกรรมหัตถกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ความเพียงพอของแรงงานตลอดจนค่าจ้างแรงงานของทำเลที่ตั้งโรงงานแต่ละแห่ง ย่อมมีผลอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้งโรงงานใหม่ ในเมืองใหญ่หรือชุมชนใหญ่ย่อมมีแรงงานทั้งที่เป็นช่างชำนาญงานและแรงงานไม่ใช้ฝีกมืออยู่มาก แต่ค่าแรงก็มักจะสูงกว่าในเมืองเล็กหรือชุมชนเล็ก การตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานจึงต้องพิจารณาถึงความพอเพียงของแรงงานและค่าแรงงานประกอบกันที่ดิน (Land) การซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสร้างโรงงาน เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับเงิน ก้อนใหญ่ ตามปกติทำเลในเขตเมือง จะมีราคาสูง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาก็จะราคาสูงด้วย ดังนั้นโรงงานส่วนมากจะตั้งไกลเมืองออกไปอยู่ตามชนบท หรือชานเมือง นอกจากราคาที่ดินต้องพิจารณาแล้วลักษณะที่ดินก็จะต้องพิจารณาด้วยเหมือนกันในงานก่อสร้างโรงงาน เช่น ลักษณะที่ดินต่ำจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถม อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน (Investment promotion) และติดตามควบคุมระบบการทำงานภายในโรงงานที่อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทางน้ำและทางอากาศ รัฐบาลจึงได้กำหนดเขตอุตสาหกรรม ( Industrial zone ) ขึ้นที่เรียกว่า “นิคมอุตสาหกรรม”

นิคมอุตสาหกรรม เป็นเขตที่รัฐบาลหรือภาคเอกชนจัดไว้ให้กลุ่มนักลงทุน (Investor) ทางอุตสาหกรรมเข้ามาดำเนินกิจการอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยจัดสรรที่ดินสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไว้บริการอย่างพร้อมเพรียง กิจกรรมนิคมอุตสาหกรรมได้เริ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2439 ในประเทศอังกฤษ และในประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาเคียงกัน (ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์, และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2536 : 36) เหตุผลเริ่มแรกที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้น เพราะต้องการแก้ไขปัญหาการว่างงาน และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมให้กลายเป็นบริเวณที่เกิดประโยชน์ ต่อมาเมื่อกิจการนี้มีประโยชน์แก่การผลิตทางอุตสาหกรรม จึงได้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในประเทศไทยรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลุงทน (BOT : Board of Investment) ขึ้นในปี พ.ศ. 2504 คณะกรรมการนี้นอกจากทำหน้าที่ด้านส่งเสริมการลุงทน (Investment promotion) แล้ว ยังมีหน้าที่พิจารณาคำขออนุญาตของผู้ประสงค์จะตั้งโรงงานในเขตที่กำหนดไว้ด้วย ในสมัยนั้นได้กำหนดพื้นที่ชานพระนครเป็นย่านอุตสาหกรรม (พอพันธ์ วิชจิตพันธ์, 2521 : 102) เช่น จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุทธยา เป็นต้น กิจการอุตสาหกรรมของโรงงานต่าง ๆ ได้ก้าวหน้า และมีการขยายโรงงานอุตสาหกรรมไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ราคาที่ดินสูง ประชากรในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรมีการย้ายถิ่นมากขึ้น ทำให้เกิดสภาพความเป็นอยู่แออัด สภาพแวดล้อมเป็นพิษ

จากสภาพปัญหาและความไม่เหมาะสมหลายประการ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีนโยบายปรับปรุงพื้นที่บริเวณอื่นให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานปรับปรุงที่ดินย่านตำบลบางชัน เขตมีนบุรี ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้ตั้งองค์การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Industrial Estate Authority of Thailand) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดำเนินการและสำรวจลู่ทาง เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทั้งในส่วนภูมิภาค และส่วนกลาง จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรมมาเขต 1 เขต 2 และนิคมอุตสาหกรรมเขต 3 นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจเอกชนให้เข้ามามีบทบาทในด้านการสร้างนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นด้วย

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พอพันธ์ วัชรจิตพันธ์ (2521 : 102 – 103) ได้สรุปเอาไว้ 5 ประการ ดังนี้

1. อำนวยความสะดวกให้ในด้านที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เหมาะแก่ผู้ลงทุนอย่างพร้อมเพรียงได้แก่ การจัดบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า การกำจัดของเสีย การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง ตัวอาคาร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายต่ำซึ่งสามารถจัดทำได้
2. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรม สามารถพึ่งพาและสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ เช่น ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากโรงงานหนึ่งอาจใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานหนึ่งลักษณะ เช่นนี้ย่อมสะดวกและประหยัด เพราะสามารถติดต่อกันโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และช่วยลดค่าขนส่งได้อีกด้วย ฉะนั้นผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ และสามารถดำเนินงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
3. การย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากแหล่งชุมชน เพื่อแก้ไขความแออัดในตัวเมือง และสภาพเสื่อมโทรม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ นอกจากนี้ยังช่วยลดจำนวนการอพยพของชาวชนบทที่จะเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ
4. การกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค เพราะอุตสาหกรรมย่อมเป็นตัวนำซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น และเป็นการเพิ่มอาชีพ ตลอดจนรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น
5. จัดวางผังเมือง แยกเขตที่อยู่อาศัย ย่านการค้า ย่านอุตสาหกรรม ให้เป็นสัดส่วน และเผื่อขยายตัวของเมืองในอนาคตให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเกณฑ์การวางผังเมือง และพยายามใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการเกษตร ให้เป็นประโยชน์ต่อการอุตสาหกรรม

การขนส่ง (Transportation) การขนส่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่จะส่งผลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงหรือต่ำลงได้ จึงนับได้ว่าการขนส่งถือว่าเป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาระมัดระวังรอบคอบ มีเหตุผล ทั้งนี้เพราะว่าปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คน เครื่องจักร อุปกรณ์และสิ่วที่สนับสนุนการผลิตต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่โรงงานล้วนแต่อาศัยการขนส่งทั้งสิ้น หลังจากนั้น เมื่อโรงงานทำการแปรรูปวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) แล้วก็ต้องขนส่งสู่ตลาดอีก ปัญหาที่ต้องพิจารณาเรื่องการขนส่งก็คือ ช่วงระหว่างวัตถุดิบกับโรงงาน และช่วงระหว่างโรงงานกับตลาด หรือแหล่งจำหน่าย ช่วงดังกล่าวสามารถขนส่งได้กี่วิธี ขนส่งอย่างไรจึงจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด

นอกจากนี้ในเรื่องของการขนส่ง ผู้บริหารอุตสาหกรรมควรจะพิจารณาถึงหลักดังต่อไปนี้ (เสริมศักดิ์ ตรีสัตย์, 2537 : 46)
1. ทางเลือกของการขนส่ง (Alternative of transport)
2. ระยะทาง (Distance)
3. เวลา (Time)
4. ลักษณะและสภาพของเส้นทาง (Status of route)
5. ปัญหาจราจร (Traffic proldem)
6. แนวโน้มในอนาคต (Trend of future)
7. ลักษณะภูมิประเทศ (Nature of the country)
8. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (Cost of transport)
9. อื่น ๆ (others)

พลังงาน (Energy) ธรรมชาติของอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบอาจมีความต้องการแหล่งต้นกำลัง และเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องการแหล่งต้นกำลังจากกระแสไฟฟ้า โดยใช้บริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมากกว่า ที่จะผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้เอง ทั้งนี้เพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่บางครั้งโรงงานอาจมีเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เผื่อในกรณีกระแสไฟฟ้า ดับกระทันหันหรือในยามฉุกเฉินอันมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบการผลิต โดยเฉพาะโรงงานที่ติดตั้งระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง(Continuous Products System) นั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย อย่างไรก็ตามยังมีอุตสาหกรรมอีหลายประเภทต้องอาศัยเชื้อเพลิงต่าง ๆ เป็นแหล่งต้นกำลังในการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น น้ำมัน เครื่องยนต์ แก๊ส เป็นต้น

สาธารณูปโภค (Public service) โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรง จำเป็นต้องใช้น้ำ ไฟฟ้า ระบบน้ำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมหลายชนิดมีมลภาวะ (Pollution) ซึ่งเป็นภัยต่อชีวิตและธรรมชาติ เช่น สารเคมี น้ำมัน ซึ่งถ้าปล่อยลงแม่น้ำ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย (Water Pollution) ควันไฟ ก๊าซบางอย่างทำให้อากาศเป็นพิษ (Air Pollution) โรงงานจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ในการพยายามกำจัดสิ่งเป็นพิษเหล่านี้ ไม่ให้เกิดมลภาวะขึ้นมาได้

ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของชุมชนที่โรงงานไปตั้งอยู่ ปัจจัยเหล่านี้อาจไม่มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต หรือการดำเนินการแต่จะมีผลทางอ้อมต่อการดำเนินการ เช่น มีผลต่อการทำงานของคนงาน การควบคุมการทำงานของคนงาน และอื่น ๆ ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1. สภาพการยอมรับของชุมชนที่มีต่อธุรกิจที่ทำอยู่ ถ้าโรงงานหรือการดำเนินการได้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ขัดต่อความเชื่อของคนในชุมชน หรือขัดต่อหลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาในชุมชน ย่อมไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน
2. สภาพความเป็นอยู่ของชุมชน คุณภาพของชีวิตในชุมชน เช่น แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ โรงมหรสพ สภาพภูมิอากาศ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานปฏิบัติกิจทางศาสนา มาตรฐานค่าครองชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
3. กฎระเบียบและกฎหมายของชุมชน เช่น ภาษีต่าง ๆ อันได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ฯลฯ กฎหมายแรงงาน กฎหมายการจ้างงาน และอื่น ๆ
4. สภาพความรวมตัวทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในชุมชน ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในธุรกิจ สภาพการแข่งขันทางธุรกิจ แหล่งที่มีการรวมตัวร่วมมือช่วยเหลือกันทางธุรกิจมาก ย่อมส่งเสริมต่อการดำเนินการผลิตและบริการ

ธรณีวิทยาคืออะไร

ธรณีวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลกสสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หินดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมีและชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้ว